Mar 16, 2023
เมื่อต้องการไถ่ถอนที่ดินจากการขายฝากที่ดิน ต้องทำอย่างไรบ้าง
ขายฝากที่ดิน

เรื่องของอสังหาริมทรัพย์ เป็นเรื่องที่ถือว่ามีความสำคัญ และต้องให้ความสนใจกันมาก ๆ เลย เนื่องจากว่าเป็นทรัพย์ที่มีราคาสูง และมีเงื่อนไขต่าง ๆ มากมายที่จะต้องปฏิบัติตาม ทำให้จำเป็นมาก ๆ ที่จะต้องมีความเข้าใจก่อนที่จะทำเรื่องเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ อย่างการขายฝากที่ดินเองก็เป็นสิ่งที่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจกันมากเท่าไหร่ โดยเฉพาะของการที่จะต้องไถ่ถอนที่คืนหลังจากที่ขายฝากไปแล้ว ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง แล้วมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากไหม ในบทความนี้จึงอยากที่จะมาช่วยบอกถึงรายละเอียดวิธีการไถ่ถอนที่จากการขายฝากให้ได้เข้าใจกันมากขึ้น 

การไถ่ถอนที่ดิน จากการขายฝากที่ดิน ต้องทำอย่างไร 

การขายฝากที่ดิน เป็นการทำสัญญาซื้อขายที่ดินอย่างหนึ่ง โดยเมื่อทำการขายฝากแล้วก็จะทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นตกไปเป็นของผู้ที่ซื้อฝากทันที แต่ในการทำสัญญาขายฝากกันนั้น จำเป็นมาก ๆ ที่จะต้องทำข้อตกลงกันถึงเรื่องการไถ่ถอนทรัพย์คืน ซึ่งในการไถ่ถอนจะต้องเป็นไปตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดกันเอง หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเอาไว้เท่านั้น ทั้งนี้หากว่าต้องการไถ่ถอนที่ดินจากการขายฝากก็สามารถทำได้ดังนี้ 

ในการเริ่มต้นการไถ่ถอนที่ดินจากการขายฝาก จะต้องเริ่มจากการที่ผู้ซื้อฝากต้องแจ้งไปยังผู้ขายฝากด้วยการส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนไปก่อน เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ขายฝากได้รับทราบถึงกำหนดระยะเวลาในการไถ่ถอนว่าจะต้องไถ่ถอนเมื่อไหร่ พร้อมทั้งจะต้องแจ้งจำนวนสินไถ่ และสำเนาสัญญาการขายฝากแนบไปให้ด้วย ซึ่งในการแจ้งกำหนดระยะเวลาการไถ่ถอนที่ดินก็จะต้องแต่งก่อนครบกำหนดไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่จะต้องไม่เกิน 6 เดือน หากว่าผู้ซื้อฝากไม่ได้ดำเนินการตามนี้ก็จะทำให้ผู้ซื้อฝากสามารถที่จะมีสิทธิ์ในการไถ่ถอนที่ดินได้ภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ครบกำหนดสัญญาเลยนั่นเอง 

หลังจากนั้น ผู้ซื้อฝาก และผู้ขายฝากจะต้องทำการจัดเตรียมเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ทั้งหมด ที่ได้มีการทำการขายฝากที่ดินกันเอาไว้ เพื่อที่จะใช้ในการยื่นให้กับเจ้าหน้าที่ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น สำเนาสัญญาการขายฝาก, บัตรประจำตัวประชาชนทั้งฉบับจริง และสำเนา, ทะเบียนบ้านทั้งฉบับจริงแล้วสำเนา รวมถึงหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินด้วย นอกจากนั้นแล้วก็จะต้องจัดเตรียมในส่วนของค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนไถ่ถอนที่ดินด้วย ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอนอยู่ที่แปลงละ 50 บาท และจะมีค่าอากรแสตมป์ที่จะคำนวณจากราคาไถ่ถอนที่ หรือราคาประเมินทุนทรัพย์ แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า โดยจะต้องจ่ายอยู่ที่ 0.5%

More Details